Cubicschool Wiki
Register
Advertisement
ปราชญ์ - ปรัชญา ศรัทธามั่นยืนยงค์

PRACH - Prachya Shatthamunyuenyong

[[
5508 - Prach

PRACH

|250px]]

ชื่อ-นามสกุล

ปรัชญา ศรัทธามั่นยืนยงค์ (Prachya Shatthamunyuenyong)

ชื่อเล่น

ปราชญ์ (Prach)

วันเกิด (อายุ นับถึงปี 2559)

12 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 (19 ปี)

เพศ (รสนิยมทางเพศ)

ชาย (ชอบผู้หญิง)

สถานะ

นักเรียนรุ่นที่ 5 (2555-2557)

แผนการเรียน

วิทย์-คณิต

ส่วนสูง-น้ำหนัก

153 เซนติเมตร / 56 กิโลกรัม

ศาสนา

พุทธ

กรุ๊ปเลือด

n/a

ชมรม

พุทธศาสนา (หัวหน้าชมรม)

ปราชญ์ - ปรัชญา ศรัทธามั่นยืนยงค์

ข้อมูลทั่วไป

DB1

1. ชื่อจริง / นามสกุล / (ชื่อเล่น)

- ปรัชญา ศรัทธามั่นยืนยงค์ (ปราชญ์) [ปรัด-ยา สัด-ทา-มั่น-ยืน-ยง] - Prachya Shatthamunyuenyong (Prach)

2. อายุ (นับตามอายุในวันที่ 1 พฤษภาคม 2556)

- อายุ 16 ปี

3. วัน เดือน ปี เกิด

- วันอังคารที่ 12 เดือน พฤศจิกายน 2539

4. เพศ / รสนิยมทางเพศ

- ชาย / ชอบผู้หญิง

5. ความสูง - น้ำหนัก

- 153 ซม. - 46 กิโลมกรัม 6. รูปพรรณสัณฐาน (ตามภาพเลยครับ)

Credit : http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2009/08/A8187195/A8187195-60.jpg

- ผมตรงค่อนข้างยาว(ยาวไม่ถึงต้นคอ) สีดำ

- ตาสองชั้น นัยน์ตาสีดำ

- ผิวขาว-เหลืองตามแบบฉบับคนเอเชีย คล้ำแดดเล็กน้อย

- นิ้วมือเรียวยาว

- เป็นคนตัวเตี้ย รูปร่างผอมแห้ง(แต่แรงไม่น้อยนะ - อานิสงส์ของโยคะกับไท่เก๊ก)

- มักมีรอยยิ้มบางๆ(โชว์ลักยิ้ม) ปรากฏบนใบหน้าเสมอ(เพราะปราชญ์มองโลกในแง่ดีก่อนเสมอ)

- มักพกหนังสือขนาดใหญ่ เก่าคร่ำคร่า หน้าเหลืองกรอบติดตัวอยู่เสมอ(ส่วนใหญ่เป็นหนังสือเกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา ไม่ก็พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน) 2-3 เล่ม (ใส่ถุงย่ามแยกไว้ต่างหาก) ชุดนักเรียน - ชุดนักเรียนโรงเรียนลูกบาศก์

7. ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมต่างๆของตัวละคร

- คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล / ดำเนินชีวิตตามวิถีพุทธ / ตรงไปตรงมา / ใจเย็น โกรธยากหายเร็ว / เข้มงวดตนเอง ผ่อนปรนผู้อื่น / รักษาสัญญา / มองโลกในแง่ดีไว้ก่อน / พูดคุยไม่เก่ง / อ่านอารมณ์คนไม่เก่ง / หลงแสงสีของเมืองกรุง

- คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล :

ปราชญ์มีกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล แทบจะทุกการกระทำมาจากการตัดสินด้วยการชั่งตรองด้วยเหตุผล(เช่น ไตร่ตรองว่า มีข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วส่งผลอย่างไรต่อใครบ้าง เป็นสิ่งที่เราและผู้อื่นสามารถยอมรับให้เป็นหลักปฏิบัติได้หรือไม่ เป็นต้น)

ด้วยเหตุนี้บ่อยครั้งจึงเห็นปราชญ์จับคาง ยืนแข็งคิ้วขมวดอยู่คนเดียว(กำลังตัดสินใจ/ใคร่ครวญอะไรบางอย่างอยู่)  บางครั้งกระบวนการคิดที่กินเวลามากเช่นนี้ก็ส่งผลเสียทำให้แก้ปัญหาล่าช้า ยิ่งเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ กว่าปราชญ์จะแก้ปัญหาได้ส่วนใหญ่เรื่องก็มักจะบานปลายจนแก้ไขยากเสียแล้ว อาจจะเรียกได้ว่ารอบคอบจนเกินไป

เรื่องของความรักเป็นเรื่องเดียวที่ปราชญ์ไม่สรรหาเหตุผลร้อยแปดพันเก้ามา คิดพิจารณา เป็นเรื่องเดียวที่ปราชญ์จะปล่อยให้ความรู้สึกภายในผลักดันให้กระทำสิ่ง ต่างๆ ต่อเมื่อเผชิญปัญหาจึงเริ่มค้นหาสาเหตุและแก้ไขด้วยเหตุผลเช่นเดิม

ปราชญ์มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง  ไม่ ว่าจะร้ายแรงเพียงใดก็มีความกล้าที่จะรับผิดชอบผลของการกระทำนั้น(ปราชญ์มี ความเชื่อว่า คนเรามีเสรีภาพกำหนดชีวิตตนเองได้ จึงต้องรับผิดชอบผลของการกระทำนั้นๆ)

มีเพียงเรื่องความคิดของผู้อื่น(คนอื่นกำลังคิดอะไร) เท่านั้นที่ปราชญ์หลีกเลี่ยงไม่พยายามคิดแทนตัวเจ้าของ แต่จะใช้การถามออกไปตรงๆ และจะเชื่อคำตอบของอีกฝ่ายไว้ก่อนเสมอ

ปราชญ์ พยายามแก้ไขข้อเสียในเรื่องการใช้เวลาคิดไตร่ตรองนานจนทำให้ปัญหาบานปลาย ใหญ่โต แก้ไขยากเรื่อยมา ปัจจุบันแม้ยังแก้ไขไม่ได้ แต่ปราชญ์ก็หวังว่า สักวันหนึ่งเขาจะแก้ไขปัญหานี้ได้(หวังว่าการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ จะใช้เวลาคิดน้อยลง)

                ระบบเหตุผลของปราชญ์เริ่มผิดเพี้ยนไปบ้าง ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคมคนเมือง เมื่อได้ยินอะไรบางอย่างที่ตัวเองไม่รู้จักก็จะพยายามใช้เหตุผลผูกให้กลาย เป็นสิ่งที่ตัวเอง รู้จัก เช่น ได้ยินคำว่า "กาก้า" เป็นคำแรก ก็ใช้เหตุผลผูกโยง คำพูดแรก = คำทักทาย  กาก้าจึงกลายเป็นคำทักทายในระบบความคิดของปราชญ์ไป (ปัจจุบันยังคิดว่า "กาก้า" เป็นคำทักทายของคนกรุงอยู่ แต่ไม่กล้าใช้ ยกเว้นมีคนอื่นพูดเกี่ยวกับ "กาก้า" ขึ้นมา จึงจะใช้)

- ดำเนินชีวิตตามวิถีพุทธ :

ในการดำเนินชีวิตประจำวันปราชญ์จะถือหลัก ทาน ศีล และภาวนา ซึ่งเป็นหน้าที่ของชาวพุทธอย่างแท้จริง

ทาน - ปราชญ์ชื่นชอบการช่วยเหลือผู้คน เท่าที่กำลังของตนจะสามารถช่วยเหลือได้ แม้ว่าบางครั้งจะถูกคนอื่นว่าทำเอาหน้า หรือ เป็นพวกชอบยุ่งเรื่องของชาวบ้าน(ถ้าใช้คำไม่สุภาพหน่อยจะใช้คำว่า "เสือก") ปราชญ์ก็จะไม่ตอบโต้ และยังให้การช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป เพราะปราชญ์รู้ตัวดีว่าทำสิ่งใดและเพราะอะไร  ส่วนความคิดของคนอื่นนั้นปราชญ์จะปล่อยให้กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยัน ว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นไม่ใช่การสร้างภาพหรือชอบเข้าไปยุ่งเรื่องของชาว บ้านอย่างไม่มีเหตุผลแต่อย่างใด

ศีล - ปราชญ์ถือศีล 5 อย่างเคร่งครัด อาจมีบ้างในบางครั้งที่ผิดพลาดในศีล

ข้อ1(รำคาญยุง,พูดตามความเป็นจริงทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ แม้มีเจตนาต้องการให้ผู้อื่นแก้ไข ไม่ได้เจตนาเบียดเบียนผู้อื่นก็ตาม)

ข้อ4(ในเรื่องของความรัก ใช้คำพูดที่เกิดจากแรงราคะ)

ภาวนา - เป็นผลพวงมาจากกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล สร้างกรอบให้แก่การกระทำและจิตใจของตนเอง

นอกจากนี้ยังนำหลักพุทธธรรมอื่นมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอีกด้วย

                ในปัจจุบันเนื่องด้วยความหลงแสงสีของเมืองกรุง ทำให้ปราชญ์เคร่งในศาสนาพุทธน้อยลง แต่ยังยึดหลักถือศีล 5 เท่าที่ทำได้ และการนั่งสมาธิเป็นประจำสม่ำเสมอ

- ตรงไปตรงมา :

ปราชญ์เป็นคนตรงไปตรงมา คิด ไตร่ตรองอย่างละเอียดตัดสินใจได้ความว่าอย่างไรก็จะพูดออกไปอย่างนั้น แม้บางครั้งไม่มีเจตนาจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ดีก็ตาม(ปราชญ์เชื่อว่าการพูด ความจริงเป็นหลักปฏิบัติที่ทุกคนสามารถยอมรับและปฏิบัติได้) จะมีก็แต่เรื่องของความรักเท่านั้นที่ปราชญ์ไม่ใช้เหตุผลเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะให้ความสำคัญกับความรู้สึกของตัวเอง กระนั้นการกระทำก็ยังต้องอยู่ในกรอบของศาสนาและศีลธรรม

- ใจเย็น โกรธยากหายเร็ว :

อาจเป็นผลของการฝึกสมาธิ รำไท่เก๊ก และฝึกโยคะมาตั้งแต่เด็ก จึงมีผลช่วยส่งเสริมในส่วนนี้ แต่เมื่อเกิด ความรู้สึกด้านลบเล็กน้อย(ไม่พอใจ หงุดหงิด เป็นต้น) ปราชญ์จะยังคงรักษารอยยิ้มไว้บนใบหน้า แล้วใช้ความรู้สึกนั้นเพ่งเป็นอารมณ์(เช่น "ไม่พอใจหนอ" "โกรธหนอ") สักครู่หนึ่งก็จะกลับมาเป็นปกติ

(worst case) น้อยครั้งที่ปราชญ์จะเกิดความรู้สึกด้านลบอย่างรุนแรง(ปราชญ์ จะโมโหเป็นฟืนเป็นไฟและซึมเศร้าไม่เป็นอันทำอะไร เป็นต้น การ แสดงออกจะต่อว่าคู่สนทนาอย่างรุนแรง(ปกติจะไม่ต่อว่าคนอื่น อาจมีคำไม่สุภาพปะปนอยู่บ้าง แต่มีความหมายรุนแรง,ไม่ใช้กำลังเข้าทำร้าย) และต่อมาจะหมกตัวร้องไห้เงียบๆ ไม่เป็นอันทำอะไรหลังจากต่อว่าคู่สนทนาแล้ว) ปราชญ์ จะปลีกตัวออกจากสังคมรอบข้าง เข้าสู่สถานที่สงบ แล้วเดินจงกรม ให้ใจเย็นลง ก่อนจะนั่งสมาธิและตามด้วยวิปัสสนา ค้นหาสาเหตุว่าที่เป็นแบบนี้มันเกิดขึ้นจากอะไร เมื่อพบสาเหตุก็จะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง (เคยโมโหสุดๆ เมื่อตอนอายุ 8 ขวบ เพื่อนๆ ดูหมิ่นพ่อแม่ของปราชญ์ว่าเป็นคนไม่ดี ทิ้งปราชญ์ไว้กับย่าตั้งแต่ก่อนปราชญ์จะจำความได้ ไม่ได้รักปราชญ์ ในตอนนั้นมีพระอาจารย์กับย่าคอยช่วยให้สงบลงได้) จากตอนนั้นถึงปัจจุบันปราชญ์ยังไม่เคยเกิดความรู้สึกด้านลบอย่างรุนแรง เหมือนตอน 8 ขวบ อีกเลย

- เข้มงวดตนเอง ผ่อนปรนผู้อื่น :

เข้มงวดกับการกระทำของตัวเองมาก จะไม่ผิดร่องผิดรอยของตัวเองตราบเท่าที่เหตุผลที่ใช้ยังไม่ถูกเหตุผลที่ดี กว่าโค่นล้มลง ถึงจะมีบางครั้งที่จำต้องเปลี่ยนการกระทำไปบ้าง แต่ก็ยังคงอยู่ภายในกรอบศาสนาและศีลธรรมอันดีอยู่ดี

ในขณะเดียวกันจะไม่ยัดเยียดการกระทำตามเหตุผลของตนให้กับคนอื่น แต่หากเห็นคนอื่นทำสิ่งผิดศีลธรรมอันดีงามจะพยายามเข้าไปชักจูงให้กลับมาสู่ ศีลธรรมอันดีอย่างสุดความสามารถ

นอกจากนี้ปราชญ์ยังมองว่าการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ทำให้คนอื่นลำบาก จึงไม่ค่อยกล้าร้องขอความช่วยเหลือเสียเท่าไหร่(พยายามทำด้วยตัวเองอย่างสุด ความสามารถ ได้แค่ไหนแค่นั้น)

- รักษาสัญญา :

ปราชญ์จะให้สัญญาก็ต่อเมื่อเขาสามารถทำตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้ในสัญญานั้น ได้เท่านั้น จะไม่ออกปากสัญญาส่งเดช(ใช้เวลาคิดไตร่ตรองนานพอสมควร) และเมื่อใดที่ออกปากสัญญาแล้วล่ะก็ เขาจะรักษาสัญญานั้น อย่างคงเส้นคงวา ไม่บิดพลิ้ว หรือ ไม่ทำผิดข้อตกลงในสัญญา จนกว่าข้อผูกมัดในสัญญาจะสัมฤทธิ์ผล หรือ คู่สัญญาขอยกเลิกสัญญานั้นๆ

- มองโลกในแง่ดีไว้ก่อน :

แม้ปราชญ์จะพยายามมองโลกตามความเป็นจริงตามทัศนะแบบพุทธ แต่ทุกๆ ครั้งก็มีอันต้องโน้มเอียงไปทางโลกในแง่บวกเสียทุกที ประสบการณ์หลังจากนั้นจะเป็นเหตุผลที่ช่วยให้ปราชญ์ตัดสินใจว่าตนมีความเห็น ต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไร

- พูดคุยไม่เก่ง :

เนื่องจากเป็นเด็ก(บ้านอยู่ติดกับ)วัดของชนบท ฐานะค่อนข้างยากจน ไม่ถูกกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ แถมสนใจในวิชาที่คนปกติไม่ได้ให้ความสนใจ จึงทำให้ความสนใจค่อนข้างแตกต่างจากคน(เมือง)โดยทั่วไป เลยเป็นเรื่องยากที่จะหาเรื่องคุย หรือ ต่อบทสนทนากับคนอื่น

จะพยายามหลีกเลี่ยงวิชาทางปรัชญาและศาสนาในการพูดคุยกับผู้อื่น เพราะ ปราชญ์มีประสบการณ์มาแล้วว่า มันทำให้คนอื่นเพิ่มช่องว่างระหว่างความสัมพันธ์(เขาฟังไม่รู้เรื่อง)

แต่หากเป็นผู้ที่สนใจในแนวทางเดียวกันแล้วล่ะก็ ปราชญ์จะชอบชักชวนให้ขบคิด ช่วยกับถกปัญหาร่วมกันทางหาออกของเรื่องต่างๆที่หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็น (เช่น ทำไมอารยธรรมโบราณแทบทุกอารยธรรม สิ่งสูงสุด(เทพ,พระเจ้า)มักมาจากท้องฟ้า หรือ นับถือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับท้องฟ้า เหมือนกัน ทั้งๆที่แตกต่างกันทั้งในด้านของวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และกาลเวลา เป็นต้น)

                เริ่มมีทักษะพูดคุยกับคนเมือง ด้วยศํพท์ของคนเมืองทั้งที่ตัวเองเข้าใจผิด ไปคนละทางกับความหมายที่คนเมืองใช้ของคำนั้น ๆ

- อ่านอารมณ์คนไม่เก่ง :

อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้ว ปราชญ์ไม่ชอบคิดแทนคนอื่น อีกทั้งความสามารถในการสังเกต จับผิดอารมณ์คนต่ำเสียด้วย จึงทำให้เขาอ่านอารมณ์ที่คนนั้นเก็บไว้ข้างในใจไม่ได้เลย และมักจะเชื่อคำตอบแสดงความรู้สึก/ความคิดของคนนั้นๆไว้ก่อนเสมอ

- หลงแสงสีของเมืองกรุง : 

เนื่องจากเป็นประสบการณ์เข้าเมืองกรุงเป็นครั้งแรก ก็ทำให้สิ่งต่าง ๆ น่าดึงดูดใจไปเสียหมด ทั้งสิ่งก่อสร้าง สังคมเมืองกรุง ตลอดจนพฤติกรรมของคนเมืองกรุง ในส่วนนี้ทำให้ปราชญ์พยายามปรับตัวให้กลายเป็นคนเมืองกรุงมากขึ้น สามารถใช้ระบบเดินทางสาธารณะในระแวกแถวบ้านได้(ต่อรถเมล์ไม่เกิน 3 สาย) รู้จักเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ก็ยังคงเรียกผิด แต่ก็ไม่คิดจะสัมผัสหรือใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านั้น เริ่มเข้าใจศัพท์ใหม่ ๆ ที่คนเมืองใช้ แม้ว่าตัวเองจะเข้าใจความหมายและวิธีการใช้ของมันผิด (ทักษะในการผูกศัพท์ใหม่ ๆ เข้ากับคลังความหมายเดิม ๆ พัฒนาก้าวหน้าขึ้น อาจเรียกว่าถึงขั้นเริ่มเพ้อ..)  
8. การใช้คำพูด : ปราชญ์ มักจะพูดสุภาพอยู่เสมอ แต่ไม่ถึงขนาดที่มีคำลงท้ายตลอดแม้แต่คุยกับเพื่อนสนิท จะพยายามไม่ใช้คำพูดที่ทำให้ผิดศีลข้อ 4 เท่าที่จะเป็นไปได้ และต้องใช้คำพูดที่คิดว่ามีความหมายใกล้เคียงกับสิ่งที่คิดเอาไว้เสมอ(จนบาง ครั้งต้องยืนนึกจนบทสนทนาสะดุดไปก็มี)

ถ้าถูกถามเกี่ยวกับความรู้และความเชื่อ ปราชญ์มักจะเกริ่นนำว่า "เราคิดว่า.." "เราเชื่อว่า.." ตามด้วยคำตอบ จะหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่า "เรารู้ว่า.." เสมอๆ เพราะปราชญ์ยังหาข้อยุติทางญาณวิทยาไม่ได้ว่าคนเรารู้อะไรได้จริงๆหรือเปล่า (สรรพนามใช้แทนตัวเองจะเปลี่ยนไปตามคู่สนทนา)

กับ ผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสกว่า: จะ ใช้"ผม-สรรพนามลำดับญาติ(ดูตามลักษณะภายนอกว่าจะใช้ ลุง ป้า พี่ เป็นต้น) +ชื่อจริงของผู้ใหญ่/ผู้อาวุโสกว่า" และลงท้ายด้วย "..ครับ" ยกเว้นเป็นคนในครอบครัว คนใกล้ชิด คนที่ค่อนข้างสนิท จะใช้สรรพนามลำดับญาติ+ชื่อเล่น(เช่น ย่าขาว เป็นต้น)

กับ ครู/อาจารย์ : ส่วน ใหญ่จะใช้ "ผม-อาจารย์+ชื่อจริง" และลงท้ายด้วย "..ครับ" เพื่อแสดงความเคารพและให้เกียรติ แต่ถ้าเป็นครู/อาจารย์ที่สนิทด้วย และอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการนัก จะใช้สรรพนามลำดับญาติ(ดูตามลักษณะภายนอกว่าจะใช้คำใด)+ชื่อเล่นของครู /อาจารย์

กับ เพื่อน : ใช้ "ผม-ชื่อจริงของเพื่อน" ถ้ายังไม่สนิทกันมาก ถ้าสนิทกันแล้วจะใช้ "เรา-ชื่อเล่นของเพื่อน"

กับ รุ่นพี่ : ไม่สนิทกับมากใช้ "ผม-พี่+ชื่อจริงของรุ่นพี่" ถ้าสนิทแล้วจะใช้ "ผม-พี่+ชื่อเล่นของรุ่นพี่" จะสนิทหรือไม่จะลงท้ายด้วยเสียง "..ฮะ" ตลอด ถ้าเป็นรุ่นพี่ที่ไม่รู้จัก จะเรียกว่า "พี่" เฉยๆ

กับ รุ่นน้อง : ไม่สนิทกันมากใช้ "พี่-น้อง+ชื่อจริงของรุ่นน้อง" สนิทกันแล้วจะใช้ "เรา-น้อง+ชื่อจริง" แต่ถ้าไม่รู้จักชื่อจะ เรียก "น้อง" เฉยๆ

9. สิ่งที่ชอบ

- หนังสือ : หนังสือที่เกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา และคณิตศาสตร์จะชื่นชอบเป็นพิเศษ แต่หนังสือประเภทอื่นก็สามารถอ่านได้อย่างไม่มีปัญหา แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นหนังสือภาษาไทยหรือแปลไทยเท่านั้น (ทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศอ่อนมากถึงมากที่สุด[ยกเว้นภาษาบาลี-สันสกฤต])

- ธรรมชาติ : ชื่นชอบภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร ยิ่งเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยร่มเงาของต้นไม้แล้วจะยิ่งชอบมากเป็นพิเศษ

- วัด : เป็นวัดที่สงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ห่างไกลจากสังคมเมืองเพื่อให้ละสิ่งที่ยึดติดทางสังคม(หน้าที่ การงาน) พึ่งพิงธรรมชาติมากกว่าสิ่งปลูกสร้างฝีมือมนุษย์ เช่น สวนโมกขพลาราม(วัดธารน้ำไหล) ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

- ต้นไม้ : นอกจากจะให้ร่มเงาและอากาศที่สะอาดสดชื่น ให้ผลผลิตเป็นอาหารแล้ว ต้นไม้ยังทำให้เราเห็นถึงกฎไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)ให้เราเห็นอย่างแจ่มชัด เจริญเติบโต ออกดอกผล   เหี่ยวเฉา และตายไปตามวัฏจักรแห่งชีวิต

10. สิ่งที่เกลียด,กลัว

สิ่งที่เกลียด

-  น้ำ : เรียกว่าพยายามจะหลีกเลี่ยงจาก น้ำให้มากถึงมากที่สุดเสียมากกว่า เพราะน้ำเป็นศัตรูตัวฉกาจสำหรับหนังสือ น้ำสามารถทำลายหนังสือได้ภายในพริบตา (มีบทเรียนสำคัญจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีก่อน)

*หมายเหตุ 1. ปราชญ์ไม่ได้เป็นโรคกลัวน้ำแต่อย่างใด

*หมาย เหตุ 2. ปราชญ์ไม่ได้เกลียดน้ำนะครับ ที่หลีกเลี่ยงจากน้ำเพราะกลัวว่าหนังสือที่พกติดตัวจะเสียหาย(ปกติปราชญ์มัก จะพกหนังสือติดตัวจำนวนมากอยู่แล้ว จึงต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ) เรียกว่า "กลัวหนังสือเสียหายเพราะน้ำ" คงจะชัดเจนกว่า (ขออภัยที่ทำให้สับสนครับ)

*หมายเหตุ 3. ปราชญ์จะหลีกเลี่ยงน้ำให้มากที่สุด ก็ต่อเมื่อพกหนังสือติดตัว หากไม่มีหนังสือติดตัว ชื่นชอบที่จะแช่เท้าในน้ำ


- การแข่งขัน : ปราชญ์เห็นว่าการแข่งขันเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้กิเลสและตัณหา เมื่อชนะก็ทำให้ยึดติด(อัตตา) ถือตัว(มานะ) เมื่อแพ้ก็เกิดความเศร้าโศกเสียใจ(ถีนมิทธะ) ถ้ามองออกไปถึงระดับสังคม จะเห็นได้ว่าการแข่งขันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง แก่งแย้งชิงดีชิงเด่น ซ้ำร้ายสังคมเป็นแบบเสรีนิยม ก็ยิ่งเพาะความเห็นแก่ตัวให้กับคนในสังคมขึ้นไปอีก


 

 สิ่งที่กลัว

 

- เครื่องใช้ไฟฟ้า/เทคโนโลยีสมัยใหม่ : มีทักษะความชำนาญในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า/เทคโนโลยีสมัยใหม่ต่ำมาก เนื่องจากฐานะทางบ้านค่อนไปทางยากจน อีกทั้งยังอาศัยอยู่กับคุณย่า จึงไม่เคยสัมผัสเครื่องใช้จำพวกนี้มาก่อน เมื่อจำต้องใช้สิ่งของเหล่านี้มักก่อให้เกิดความเสียหายอยู่บ่อยครั้ง เครื่องใช้ไฟฟ้า/เทคโนโลยีสมัยใหม่จึงเป็นสิ่งที่ปราชญ์ทั้งเกลียดทั้งกลัว แต่ก็พยายามจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้เพื่อให้ปรับตัวสอดคล้องไปกับยุคสมัยใน ปัจจุบัน

- อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ : ไม่รู้ว่าเป็นอะไรเมื่อกลืนเนื้อสัตว์ลงท้อง ต้องมีผื่นคันขึ้นตามตัวไปเสียทุกที ปราชญ์จึงพยายามจะหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์โดยเปลี่ยนมากินอาหารแบบ Fruitatian(ทานผัก,ผลไม้สด)แทน อีกทั้งยังเคร่งครัดในศีล 5 และไม่อยากทำร้ายชีวิตสัตว์โลกจึงละเว้นอาหารหลัง 12 นาฬิกาเป็นต้นไป

- ภาษาอังกฤษและครูอีฟ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ [MS]สอบสัมภารณ์  11. งานอดิเรก

- อ่านหนังสือ : เมื่อมีเวลาและสถานการณ์เอื้อต่อการอ่านหนังสือ ก็จะหยิบหนังสือขึ้นอ่าน (เวลาและสถานการณ์ในที่นี้ อาจเป็นเวลาที่อยู่ตัวคนเดียว ว่างเว้นจากการงานหน้าที่รับผิดชอบ ไม่ได้เข้าร่วมงานสังคม เป็นต้น)

- นั่งสมาธิ สวดมนต์ และเดินจงกรม : ปราชญ์จะตื่นตั้งแต่ตี 3 ลุกขึ้นมากราบพระสวดมนต์ราวๆ 15 นาที ต่อด้วยการนั่งสมาธิสลับเดินจงกรม 1 ชั่วโมงครึ่ง ก่อนจะแผ่ส่วนกุศลให้แก่สิ่งทั้งหลาย กว่าจะเสร็จกิจวัตรช่วงเช้าก็เป็นเวลาเกือบตี 5 แล้ว ในบางครั้งเมื่อเวลา สถานการณ์ และสถานที่เหมาะสมปราชญ์จะเลือกนั่งสมาธิตามใต้ต้นไม้ใหญ่เป็นบางครั้ง

- รำไท่เก๊ก/เล่นโยคะ : ไท่เก๊ก กับ โยคะ เป็นกิจกรรมที่ปราชญ์เลือกใช้ในการออกกำลังกาย เพราะนอกจากสามารถสร้างเสริมสมรรถภาพทางร่างกายแล้ว ทั้งไท่เก๊กและโยคะยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจดจ่อลมหายใจ ซึ่งสามารถนำเอาหลักอานาปานสติ(การทำสมาธิโดยกำหนดลมหายใจ) ซึ่งเป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางจิตใจมาเข้าร่วมในกิจกรรมนี้ได้อีกทั้ง กิจกรรมในส่วนนี้กลายเป็นกิจกรรมที่ปราชญ์ทำบางเป็นครั้งคราว ไม่เป็นประจำสม่ำเสมอแบบสมัยก่อน

12. สายการเรียน (วิทย์-คณิต ศิลป์-คำนวณ ศิลป์-ภาษา)

- วิทย์-คณิต

13. วิชาที่ชอบ / ไม่ชอบ

วิชาที่ชอบ

- ปรัชญาและศาสนา  : ปรัชญาเป็นวิชาที่ทำให้ผู้ศึกษารู้จักคิด รู้จักใช้เหตุผล รู้จักการประเมินค่าว่าสิ่งใดสำคัญในชีวิต อะไรคือสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งที่ควร ส่วนศาสนาเป็นวิชาที่ทำให้ได้เรียนรู้วัฒนธรรมและสภาพสังคมที่ศาสนานั้นๆ ครอบคลุมไปถึง อาจกล่าวง่ายๆว่าปรัชญาและศาสนาเป็นวิชาชีวิต ไม่ใช่วิชาชีพ มีจุดเด่นไม่เหมือนกับวิชาอื่น อีกทั้งยังเป็นวิชาที่น่าสนใจอีกด้วย วิชาปรัชญาในบางแง่มุมส่วนเกินความจำเป็นของชีวิต และอาจก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายในชีวิตได้จึงต้องเรียนรู้ควบคู่กับศาสนา ที่เสมือนกรอบครอบที่ทำให้ผู้ใฝ่รู้ไม่หลงผิด ในมุมกลับกันปรัชญาก็คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้ไม่หลับตาหลงงมงาย เชื่อในเปลือกอันเป็นมายาของศาสนา คอยชี้นำสู่แก่นแท้ของศาสนานั้นๆ(หลักธรรม)

- คณิตศาสตร์  : เพราะในทางปรัชญาถือว่า คณิตศาสตร์เป็นภาษาของธรรมชาติ การเข้าถึงธรรมชาติ/ความจริงสูงสุด จำต้องใช้คณิตศาสตร์เป็นพาหนะในการเข้าถึงและเข้าใจ

วิชาที่ไม่ชอบ

- ชีววิทยา  : ตามหลักเหตุผลของปราชญ์แล้วมองว่าวิชานี้เป็นวิชาที่จำต้องทำร้ายสิ่งมี ชีวิตอื่นเพื่อเรียนรู้ พัฒนานำไปช่วยเหลือชีวิตสิ่งต่างๆ แม้ว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจะนำประโยชน์มาสู่สิ่งมีชีวิตจำนวนมาก แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าชีววิทยาเป็นวิชาที่เบียดเบียนชีวิตอื่น ปราชญ์จึงเห็นว่าวิชานี้ควรเป็นวิชาสำหรับผู้ที่ต้องการจะช่วยเหลือสิ่งมี ชีวิตอย่าง แท้จริง(เช่น หมอคน,หมอสัตว์) เท่านั้น ปราชญ์ที่ไม่คิดจะประกอบวิชาชีพรักษาชีวิตสิ่งอื่น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะไปเบียดเบียนชีวิตอื่น

- คอมพิวเตอร์  : ปราชญ์มีความเชื่อว่า เมื่อเข้าไปยุ่งกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นต้องพังเสียทุกที(พังในที่นี้เป็น เพียงความคิดของปราชญ์เท่านั้น จริงๆแล้ว เป็นอาการปกติของเครื่องใช้นั้นๆ เช่น คอมพิวเตอร์รีสตาร์ทตัวเอง เมื่อปราชญ์เผลอเอานิ้วไปจิ้มโดนปุ่มรีสตาร์ทเอง ปราชญ์ก็ถือว่าอาการรีสตาร์ทนั้นเป็นการพังของคอมพิวเตอร์แล้ว) แถมในเวลาเรียนจะด้วยคำสั่งของอาจารย์ หรือ ความสงสารของคนรอบข้างก็ตาม ทำให้ปราชญ์ต้องมีคนคอยช่วย คนลุ้นอยู่ใกล้ๆเสมอ ซึ่งปราชญ์มองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้อื่น จึงไม่ชอบวิชาวิชาคอมพิวเตอร์นี้ กระนั้นก็ดีปราชญ์ยังคงพยายามเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพื่อไม่ต้องเป็นภาระให้แก่คนอื่น

14. วิชาที่ถนัด / ไม่ถนัด (พร้อมเหตุผลในแต่ละอัน)

วิชาที่ถนัด

- คณิตศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา  : เป็นกลุ่มวิชาที่ปราชญ์ให้ความสนใจใคร่รู้ ใคร่ปฏิบัติตามเป็นพิเศษ (มีฉันทะอยู่แล้ว) การเรียนรู้วิชาเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยแม้แต่น้อย

วิชาที่ไม่ถนัด

- ภาษาต่างประเทศทั้งหลาย (ยกเว้นบาลี-สันสกฤต) : เป็นวิชาที่ชวนให้ปราชญ์มึนงงและสับสนมาก

- ชีววิทยา : มีความรู้สึกต่อต้านอยู่ลึกๆ(เหตุผลอยู่ในวิชาที่ไม่ชอบ-ชีววิทยาแล้ว) จึงกลายเป็นวิชาที่ไม่ถนัด

- คอมพิวเตอร์ : รู้สึกลำบากใจที่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น(เหตุผลอยู่ในวิชาที่ไม่ชอบ-คอมพิวเตอร์แล้ว) ประสิทธิภาพในการเรียนจึงตกต่ำ

15. คะแนนวิชาต่างๆในตอน ม.3 

- [รอตัดเกรดชั้น ม. 4]

16. ความสามารถพิเศษในการเรียน

- ทักษะทางด้านกีฬาสูง สามารถเล่นได้ทุกประเภท เนื่องจากร่างกายแข็งแรงและยืดหยุ่นจากการรำไท่เก๊กและฝึกโยคะเป็นประจำ แต่ด้วยนิสัยที่ไม่ชอบการแข่งขัน หากไม่จำเป็นจริงๆ ปราชญ์จะไม่เล่นกีฬาใดๆ

- สามารถจดจำบทสวดมนต์/คาถาเกี่ยวกับศาสนพิธี/พิธีกรรมที่ทำบ่อยครั้งหรือ ปรากฏในบทเรียนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมไปถึงหลักการปฏิบัติและจัดเตรียมสิ่งของอีกด้วย (เช่น การถวายสังฆทาน พิธีการไหว้ครูเป็นต้น

- สามารถเดินจงกรมสลับนั่งสมาธิได้นานถึง 4 ชั่วโมงหากสถานที่ เวลา และสถานการณ์เหมาะสม โดยไม่เบื่อหรือหลับ

- มีความสามารถในการอ้างเหตุผล จากการศึกษาตรรกวิทยาในแบบปรัชญา ส่งผลคะแนนสอบข้อเขียน(ภาษาไทย)ดีถึงดีมาก

17.ลักษณะคนที่จะเป็นเพื่อนได้

- ไม่ว่าจะเป็นคนร่าเริงหรืออมทุกข์ ปราชญ์ก็อยากอยู่ร่วมด้วยทั้งนั้น หากเป็นคนร่าเริงแจ่มใสจะทำให้ปราชญ์รู้สึกสดชื่น แจ่มใส อบอุ่นและสบายใจ หากเป็นคนอมทุกข์ ปราชญ์จะได้สามารถหาทางช่วยเหลือคนเหล่านั้นได้

- ยอมรับในสิ่งที่ปราชญ์เป็น ไม่ถือว่าความคิด/ความเชื่อของตนดีกว่า ผู้อื่นต้องทำตาม

- เป็นกัลยาณมิตรที่ดี (ให้ความยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความเป็นมิตร ให้คำแนะนำที่ดี ให้อริยทรัพย์  ให้หนทางแห่งความสงบร่มเย็น ให้ชีวิตการเป็นกัลยาณมิตร - ไม่จำเป็นต้องมีทุกข้อก็ได้ ปราชญ์เชื่อว่า คนเราสามารถพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีกได้ )

18. ลักษณะคนที่ไม่ถูกชะตา

- ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นได้ แม้ไม่ได้ทำความรู้จักกับเขามาก่อน

- เห็นแก่ตัวถึงขนาดสามารถใช้คนอื่นเป็นบันไดเพื่อสนองกิเลสตัณหาของตนเอง

- ผู้ที่ใช้การเปรียบเทียบให้เหนือกว่าคนอื่น เพื่อวัดระดับคุณค่าของตนเอง

19. เสป็กในดวงใจ

- เสป็กในปัจจุบัน : สาวตัวเล็ก(สูงกว่าปราชญ์) ผิวขาว ผมสีน้ำตาล ปล่อยผมด้านหน้าจนเวลาก้มหน้าแทบจะมองไม่เห็น(แต่ปัจจุบันติดกิ๊บปัดไปข้าง ขวาแล้ว) มีโลกส่วนตัว ชอบเหม่อ แม้เธอจะไม่ค่อยยิ้ม แต่ปราชญ์ก็คาดหวังว่าเมื่อเธอยิ้ม ต้องเป็นรอยยิ้มที่สวยที่สุดอย่างแน่นอน

- สาเหตุที่ทำให้ปราชญ์เปลี่ยนเสป็กสาวไป เจ้าตัวยังหาเหตุผลที่แน่ชัดไม่ได้ ได้แต่คาดคะเนว่าบางที คำตอบอาจอยู่ที่ตัวเด็กสาวคนนี้.. - อธิบายมาขนาดนี้.. ถ้าระบุให้ชัดคือ...  [คนนี้] 20. สัญชาติ, เชื้อชาติ, ภาษาที่พูดได้ และศาสนา

- สัญชาติ : ไทย

- เชื้อชาติ : ไทย

- ภาษาที่พูดได้ : ไทย

บาลี-สันสกฤต  : มีความสามารถในการแยกแยะควาหมาย ตีความภาษาบาลี-สันสกฤตได้อย่างชำนาญ สามารถอ่านได้เขียนคล่อง (เท่าที่ทราบ ภาษาบาลี-สันสกฤตเป็นภาษาอ่านและเขียน ไมไ่ด้ใช้ในการพูดสื่อสาร) อังกฤษ : ความสามารถในการใช้ภาษาต่ำ สะกดคำผิดปล่อย ๆ อ่านออกเสียงเพี้ยน อ่านผิด รู้คำศัพท์น้อย(คำศัพท์ง่ายๆ ในระดับประถมใช้พอได้พอสมควร)

- ศาสนา :  พุทธ - ในแง่ของการดำเนินวิถีชีวิต

ทุกศาสนา - ในแก่นสาระ(หลักธรรมโดยทั่วไป)ที่มุ่งเน้นพัฒนาในเป็นคนดี

21. ครอบครัว

- ตั้งแต่จำความได้ปราชญ์อาศัยอยู่กับย่าเพียงคนเดียว ที่เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ เหตุผลอย่างหนึ่งเพราะย่าต้องการให้ปราชญ์เข้ามาเรียนรู้ชีวิตในเมือง ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย อีกเหตุผลหนึ่งเพราะปราชญ์ได้ยินว่าพ่อ-แม่ของเขาทำงานในกรุงเทพฯ ซึ่งเจ้าตัวคาดหวังว่าอยากพบพวกท่านสักครั้งหนึ่ง เพราะตอบแทนพระคุณที่ท่านให้กำเนิดเขา แม้จะไม่ได้เลี้ยงดูก็ตาม

- ปราชญ์สนใจปรัชญา ศาสนา และคณิตศาสตร์ส่วนหนึ่งมีอิทธิพลจากย่าที่ชอบเข้าวัดไปปฏิบัติธรรมอยู่เป็น ประจำ(บ้านปราชญ์อยู่ติดกับวัด) แถมพระอาจารย์ที่สนิทกับย่าของปราชญ์ยังจบทางด้านสาขาวิชาปรัชญาอีกด้วย จึงทำให้ปราชญ์มีโอกาสได้เรียนรู้วิชาที่ไม่มีสอนในห้องเรียนวิชานี้

- ปราชญ์มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันอาศัยอยู่กับคนรู้จักของย่า ซึ่งเป็นบ้านเดี่ยวในกรุงเทพฯฝั่งธนบุรี

- ปราชญ์ได้รับการถ่ายทอดกระบวนการคิด(เป็นเหตุเป็นผล) และแนววิถีปฏิบัติ(ตามวิถีพุทธ) มาจากย่า เพราะตั้งแต่ปราชญ์อยู่ชั้นอนุบาล ย่าก็ชอบพาปราชญ์ไปปฏิบัติธรรมที่วัดข้างบ้านด้วย(บ้านปราชญ์อยู่ติดกับวัด) นอกจากนี้ในทุกๆปี ช่วงปิดเทอมใหญ่ปราชญ์กับย่าจะไปปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม(จังหวัด สุราษฎร์ธานี) อย่างสม่ำเสมอ

- เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวของปราชญ์ ยังคงเป็นปริศนาสร้างข้อสงสัยให้กับปราชญ์เรื่อยมา น้อยครั้งเท่านั้นที่ย่าจะพูดถึงเรื่องของพ่อ-แม่ของปราชญ์ เขาจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับพ่อ-แม่น้อยนิด เรื่องเงินที่ย่าใช้ส่งเขาเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ก็ยังคงเป็นข้อกังขาของปราชญ์ เพราะไม่ว่าจะถามย่าเรื่องพ่อ-แม่ หรือ เรื่องเงินอย่างไร คำตอบที่ได้ก็มีเพียง "เดี๋ยวพอไปถึงกรุงเทพฯ เอ็งก็รู้เอง" เท่านั้น

 

22. อื่น ๆ

- ปราชญ์มีความใฝ่ฝัน(ที่แปลกประหลาด)อยู่อย่างหนึ่ง คือ การได้สัมภาษณ์วิญญาณทุกดวงในโลก , การได้พูดคุยกับวิญญาณในเรื่องต่าง ๆ เพื่อหาทางช่วยเหลือ แม้ว่าจะปฏิบัติธรรมมานาน แต่กลับไม่เคยเจอวิญญาณเลยสักตนเดียว(ถ้ามาแบบรูปร่างเหมือนมนุษย์ ปราชญ์ก็คิดว่าเป็นมนุษย์นั่นล่ะนะ)

- เมื่อปราชญ์ตั้งใจจะเข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ปราชญ์จะเปลี่ยนจากการถือศีล 5 เป็น ศีล 8 (เมื่อถือศีล 8 แล้ว ปราชญ์จะหลีกเลี่ยงการต้องตัวกับเพศตรงข้าม ใช้วิธีการหลบเลี่ยงด้วยการเว้นระยะห่างจากผู้หญิง ให้สัมผัสถึงตัวกันไม่ได้[ราว 1-2 เมตร] และควบคุมสติตนไม่ให้ติดกาม แต่หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ปราชญ์ก็จะเข้าไปช่วยเหลือแม้ต้องสัมผัสตัวผู้หญิงก็ตาม[ใจไม่ได้ต้องการเสพ กาม/หลงกาม - เหมือนนิทาน(เซ็น)ธรรมเรื่องพระอุ้มหญิงข้ามแม่น้ำ] แต่เป็นไปเพื่อต้องการช่วยเหลือ เมื่อสิ้นสุดการช่วยเหลือก็ปล่อยวาง ไม่ยึดถือมันไว้ ไม่เก็บเป็นอารมณ์)

เนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

สอบสัมภาษณ์

Advertisement