Cubicschool Wiki
Register
Advertisement
อ้าย - รพินทร์ นพจิรากุล

AYEE - Rapin Nopjirakul

ชื่อ-นามสกุล

รพินทร์ นพจิรากุล (Rapin Nopjirakul)

ชื่อเล่น

อ้าย (Ayee)

วันเกิด (อายุ นับถึงปี 2559)

19 กันยายน พ.ศ.2541 (17 ปี)

เพศ (รสนิยมทางเพศ)

หญิง (ชอบผู้ชาย)

สถานะ

นักเรียนรุ่นที่ 6 (2556-2558)

แผนการเรียน

วิทย์-คณิต

ส่วนสูง-น้ำหนัก

161 เซนติเมตร / 48 กิโลกรัม

ศาสนา

พุทธ

กรุ๊ปเลือด

n/a

ชมรม

ศิลปะ

อ้าย - รพินทร์ นพจิรากุล

ข้อมูลทั่วไป

DB1

1. ชื่อจริง / นามสกุล / (ชื่อเล่น)

รพินทร์ นพจิรากุล (อ้าย) {ระ-พิน   นบ-จิ-รา-กุน}

Rapin Nopjirakul (Ayee)

2. อายุ 14 ปี

3. วัน เดือน ปี เกิด 19 กันยายน 2541

4. เพศ หญิง รสนิยมทางเพศ ชาย 

5. ความสูง 161 ซม. น้ำหนัก 48 กิโลกรัม 

6. รูปพรรณสัณฐาน

- ผมสีน้ำตาลชี้ฟูง่าย ดวงตากลมโตสีน้ำตาล ผิวสีแทนเนื่องจากชอบเที่ยวเล่นออกแดด

 - ใบหน้ารูปไข่ ร่างกายสมส่วนแข็งแรง

 - สวมเครื่องแปลงสัญญาณ(ประสาทหูเทียม) 

 (ภาพของอ้ายและชุดทั่วไปที่ใส่มาโรงเรียนลูกบาศก์ค่ะ แต่ภาพนี้อ้ายไม่ได้สวมอุปกรณ์แปลงสัญญาณไว้)

(อุปกรณ์แปลงสัญญาณ ที่มา : http://www.audimed.co.th/knowledge.php?id=2 )

 แบบที่อ้ายสวมคือภาพใหญ่สุดเลยค่ะ สีชมพู ส่วนรูปเล็กสองอันซ้ายเป็นส่วนประกอบที่ฝังภายในศีรษะ รูปเล็กอันที่สามเป็นอุปกรณ์เดียวกับรูปใหญ่แต่คนละสีค่ะ อ้ายมีสีเดียวคู่เดียวค่ะ

คุณสมบัติ

- รับเสียงได้ถึงประมาณ 80 dB (ระดับเสียงที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย) ส่วนเสียงที่มากกว่านั้นเครื่องไม่สามารถรับได้ การได้ยินเสียงที่ความดังระดับสูงกว่านั้นจะเหมือนกับการได้ยินตามปกติเวลาไม่ได้ใส่เครื่องแปลงสัญญาณ

- เครื่องแปลงสัญญาณสามารถถอดออกและสวมใส่ได้ตามต้องการ

- ตัวเครื่องแปลงกันความชื้นได้ แต่เวลาอาบน้ำหรือว่ายน้ำจะต้องถอดออก

- กันกระแทกระดับหนึ่ง แต่ถ้ากระแทกแรง ๆ อย่างเช่น ถูกตีที่ศีรษะบริเวณเครื่องโดยตรง เครื่องจะได้รับความเสียหาย

(ที่มา :

 http://nadt.thport.com/articlesth.cochlear.html

http://www.sharecare.com/question/can-cochlear-implants-into-water 

http://www.audimed.co.th/newsandpromotions_list.php?id=11 ) ชุดที่ใส่ตอนสัมภาษณ์ 

 (ที่มา : http://img263.imageshack.us/img263/7541/imgangieu002.jpg )

7. ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมต่างๆของตัวละคร

คีย์เวิร์ด :  ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ / มักสื่อสารด้วยท่าทางและการเขียน / ความรู้สึกต่อการสัมผัสและการเคลื่อนไหวรอบ ๆ ไว / ชอบจินตนาการ / ซื่อตรง / ชอบทำอะไรด้วยตัวเอง / ลึก ๆ แล้วขี้น้อยใจ

  • ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ

- อ้ายมักยิ้มแย้มแจ่มใส่ ร่าเริง และพยายามมองโลกในแง่ดีเสมอ เพราะครอบครัวของเธอคอยดูแลอย่างเข้าใจมาตลอด ความสดใสและอารมณ์ดีนี้เองที่เป็นจุดเด่นของเธอ ทำให้อ้ายสามารถเข้าสังคมและใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้แม้จะหูหนวก

  • มักสื่อสารด้วยท่าทางและการเขียน

- แต่เดิมหูหนวกตั้งแต่เกิด ทำให้พูดไม่ได้ การสื่อสารกับผู้อื่นจึงมักแสดงท่าทางสื่อความหมายให้อีกฝ่ายรับรู้ เช่น ถ้าเธอหิว ก็จะชี้ตัวเอง ลูบท้องแล้วชี้ปาก(ต้องการอะไรลงท้อง)

- ในการอ่านเขียนอ้ายไม่สามารถจดจำด้วยเสียงของคำจึงจดจำคำเป็นสัญลักษณ์รูปภาพแทน ทำให้เขียนผิดบ่อยครั้ง และอ่านเขียนหนังสือช้า จึงไม่ค่อยสื่อสารกับคนอื่นด้วยการเขียนนักยกเว้นจำเป็นจริง ๆ แต่ก็พกสมุดไว้ติดตัวเสมอ

- ตอนนี้ถึงจะได้ยินเสียงก็ยังติดจำเป็นรูปสัญลักษณ์มากกว่า และมักเกิดความสับสนเมื่อรวมคำกับเสียงเข้าด้วยกัน ทำให้ยังคงเขียนผิดบ่อย ๆ เช่น มีภาพนกมาให้ ถึงจะมีคนอ่านออกเสียงอยู่ข้าง ๆ อ้ายก็เขียนผิดเป็น มก ได้  เขียนผิดจาก นม เป็น มน เป็นต้น แต่ก็ทำให้อ้ายเป็นคนมีความจำที่ดีมาก

- วิธีรับสารจากอีกฝ่ายเมื่อก่อนมักดูจากท่าทาง หรือใช้วิธีการอ่านริมฝีปากเอา ปัจจุบันถึงจะได้ยินเสียงแล้วก็ยังติดการมองอีกฝ่ายเพื่อแปลความหมายอยู่ ดังนั้นเวลาอ้ายคุยกับใครจึงมักมองอีกฝ่ายตรง ๆตลอด

- ใช้ภาษามือได้โดยตอนเด็กๆแม่อ้ายสอนภาษาด้วยการใช้ภาษามือง่าย ๆ (แม่อ้ายเรียนภาษามือจากหนังสือเพื่อลูก) แล้วโตขึ้นก็เรียนจากกลุ่มคนหูหนวกที่มักรวมตัวกันทุกวันอาทิตย์ เนื่องจากไม่เคยเข้าโรงเรียนสำหรับคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเหมือนกันมาก่อน แต่อยู่โรงเรียนปกติทั่วไป (การเรียนจะช้าบ้างแต่มีครู เพื่อน และพ่อแม่คอยดูแลและให้ความช่วยเหลือเสมอ)

- ถ้าอยู่ในบทสนทนาบรรยากาศผ่อนคลายสบาย ๆ  บางครั้งจะพยายามพูดคำง่ายๆเป็นพยางค์ออกมา เป็นการฝึกพูดไปในตัว คำพูดจะเสียงเพี้ยนบ้าง เช่น หมา ซึ่งอาจเพี้ยนเป็น มา , บาย แต่พูดได้แค่ บา เป็นต้น

  • ความรู้สึกต่อการสัมผัสและการเคลื่อนไหวรอบ ๆ ไว

- เพราะแต่เดิมไม่สามารถใช้ประสาทสัมผัสทางการได้ยินแต่มักรับรู้ผ่านสายตาและการสัมผัสมากกว่า ทำให้มีการตอบสนองทั้งสองประสาทนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะตาที่ไวสามารถจับการเคลื่อนไหวรอบ ๆ ได้ดี อ้ายจะสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวและบันทึกจดจำเป็นภาพไว้ เช่น สามารถจับการเคลื่อนไหวของลูกขนไก่เวลาตีแบดมินตันได้ดี , เวลาใครมาเข้าใกล้ตัวจะรู้สึกได้ไว หรือแตะเพียงเล็กน้อยจะสะะดุ้งหันไปทันที

  • ชอบจินตนาการ

- ในโลกเงียบแต่เดิมทำให้เธอมักชอบมองและพิจารณาสิ่งต่างๆรอบตัว พลางจินตนาการไปเรื่อย มักจะเป็นการคิดให้สิ่งไม่มีชีวิตมีชีวิต สร้างเป็นเรื่องราวเล็ก ๆ ขึ้นมา เช่น มองเมฆแต่ละก้อนเป็นสิ่งต่าง ๆ มองดอกไม้ที่เอนไหวไปมาว่าคุณดอกไม้กำลังเต้นรำอยู่ เป็นต้น

  • ซื่อตรง

- เป็นเด็กที่ทำอะไรอย่างซื่อสัตย์ ไม่โกหก เชื่อใจในคำพูดและคำสัญญาผู้อื่น รักความถูกต้อง หากเห็นใครทำผิดจะเข้าไปห้ามด้วยสีหน้าโกรธ ๆ

- ถึงจะเป็นคนซื่อสัตย์ พูดตรงตามความจริง แต่ถ้าอ้ายรู้ว่าหากพูดไปแล้วจะไปทำร้ายจิตใจใครเข้าหรือไม่ควรพูดก็จะไม่ พูด ขณะเดียวกันก็จะไม่โกหก 

- อ้ายจะแสดงอารมณ์ตัวเองชัดเจน หากโกรธก็จะแสดงออกว่าโกรธ ทำหน้าถมึงทึง ทำมือไม้ต่อว่าอีกฝ่าย หากเสียใจก็จะร้องไห้ออกมาเลย

  • ชอบทำอะไรด้วยตัวเอง

 - เพราะไม่อยากเป็นภาระให้คนอื่น และได้รับการปฏิบัติแบบเท่าเทียม เลยแสดงให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองอยู่รอดได้ด้วยการทำอะไรด้วยตัวเอง อีกทั้งการขอความช่วยเหลือก็ลำบากถ้าไม่ส่งเสียง จึงติดนิสัยไม่ขอความช่วยเหลือคนอื่นโดยปริยาย  

  • ลึกๆแล้วขี้น้อยใจ

 - เพราะอาการของเธอทำให้ถูกปฏิบัติอย่างแตกต่างในสังคม ทำให้เกิดความน้อยใจว่าตัวเองก็อยากทำ/ทำได้ แต่กลับไม่ได้ทำหรือถูกมองว่าทำไม่ได้จนโดนมองข้ามไป ทำให้เธอเศร้าลึก ๆ

- หากเจอคนที่เลือกปฏิบัติ กีดกันตัวเองไม่ให้มีส่วนร่วมก็จะน้อยใจ คนที่หน้าไหว้หลังหลอกก็เช่นกัน เพราะให้ความรู้สึกว่าตนเองถูกหลอก ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

- ซึ่งมีผลทำให้เรื่องทั่วไป แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับอาการพิการของเธอ เช่น เพื่อนสนิทไม่ได้ชวนไปทานข้าว หรือโดนลืมวันเกิดของตัวเอง ก็ทำให้เธอน้อยใจไปด้วย

8. การใช้คำพูด (ในกรณีที่ใช้วิธีเขียน)

บุคคลทั่วไป/บุคลากรพิเศษ - แทนตัวเองว่า ฉัน ถ้าอีกฝ่ายอาวุโสกว่าใช้ หนู / เรียกอีกฝ่ายว่า คุณ ตามด้วยคำเรียกที่นับตามญาติ เช่น ลุง น้า ตา

อาจารย์ - แทนตัวเองว่า หนู / เรียกอีกฝ่ายว่า ครู 

รุ่นพี่ - แทนตัวเองว่า หนู / เรียกอีกฝ่ายว่า พี่ 

รุ่นน้อง - แทนตัวเองว่า พี่ / เรียกอีกฝ่ายว่า น้อง 

เพื่อน - แทนตัวเองว่า ฉัน / เรียกอีกฝ่ายว่า เธอ หรือ นาย ตามเพศ หรือเรียกชื่อถ้าสนิทและจำการเขียนชื่อได้

พ่อแม่/พี่ชาย - แทนตัวเองว่า อ้าย / เรียกอีกฝ่ายว่า พ่อ แม่ เอก ตามลำดับ

สรรพนามที่ใช้เรียกผู้อื่น เช่น พี่ คุณ บางครั้งถ้าสนิทกับอ้ายและอ้ายจำวิธีเขียนชื่อของคนนั้นได้ก็จะเขียนชื่อตาม หลังคำสรรพนามที่เรียกด้วย จะเป็นชื่อจริงหรือเล่นแล้วแต่ว่าเธอรู้จักบุคคล นั้นด้วยชื่ออะไร แต่ส่วนใหญ่จะเป็นชื่อเล่นเพราะเขียนง่ายกว่า การเขียนกับผู้อาวุโสจะมีคะ/ค่ะลงท้ายตลอด

ส่วนการแสดงท่าทางเพื่อสื่อสารนั้น ถ้าเป็นคนทั่วไปจะทำท่าสำรวมกว่าคนที่สนิทชิดเชื้อ

9. สิ่งที่ชอบ

- ท้องฟ้า วันที่อากาศสดใส แดดและสายลมอ่อน ๆ

- โกโก้เย็นหวานน้อย ช็อกโกแลต

- นิทานภาพ

- การสร้างเรื่องราวจากสิ่งต่าง ๆ

- แมว เพราะรู้สึกมันน่ารักดี ไม่ชอบสุนัขแต่ไม่ได้กลัว ยกเว้นตัวที่เห่าเสียงดังมาก ๆ

- อาหารฝีมือคุณแม่

- ดนตรี โดยเฉพาะอะคูสติก เนื่องจากเป็นเสียงที่มีจังหวะไพเราะกว่าเสียงทั่วไปที่เธอได้ยิน เพราะแต่เดิมที่เคยได้ยินจะเป็นจำพวกเพลงร็อคดังมากๆตามงานคอนเสิร์ตแต่ได้ยินแบบแผ่ว ๆ เท่านั้น เพลงร็อคจึงพอฟังได้แต่พอได้ฟังอะคูสติกแล้วรู้สึกชอบมากกว่า

10. สิ่งที่เกลียด/กลัว

เกลียด

การทำร้ายผู้อื่น

- การทำร้ายรวมถึงตัวเองกระทำ และผู้อื่นกระทำ คือ เธอเกลียดการเห็นใครคนใดก็ตามไปทำร้ายผู้อื่นไม่ว่าจะร่างกายหรือจิตใจ เพราะเธอรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง ถ้าเธอเห็นว่าสถานการณ์นั้นเธอสามารช่วยเหลือผู้ถูกกระทำได้ก็จะเข้าไปช่วยทันที

- เธอเกลียดเวลาเห็นใครทำร้ายใคร จึงเกลียดหากตัวเองจะไปทำร้ายคนอื่นด้วยเหมือนกัน ซึ่งถ้าจะเกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ

กลัว  

เสียงที่ดังมากๆอย่างกะทันหัน

- เสียงที่ดังขึ้นกะทันหันใกล้ ๆ ตัว เช่น เสียงตีกลองที่ดังขึ้นข้าง ๆ ตัว

- การส่งเสียงดัง ๆ ให้ตกใจ ในระยะไกล เช่น เสียงที่ดังมาจากลำโพงประกาศ ในระยะห่างยังพอฟังได้แต่จะไม่เข้าไปใกล้ให้ดังมากขึ้นเด็ดขาด หากอยู่ใกล้จนรู้สึกเสียงดังเกินจะถอยห่างออกมา 

- นอกจากเสียงดังแล้วยังไม่ชอบเสียงที่แหลมสูงเกินไปด้วย

- ถ้าตกใจจะสะดุ้งมือไม้พัน ตกใจมาก ๆ ก็จะส่งเสียงร้องแบบควบคุมระดับเสียงไม่ได้ ทำให้ดังกว่าคนปกติทั่วไป

การถูกกีดกัน

- การถูกมองว่าเป็นตัวประหลาด หรือไม่สามารถเข้าร่วมกลุ่มกับคนอื่น ๆ ได้ เพียงเพราะตนเองไม่สามารถได้ยินเสียงหรือพูด

- แม้ตอนนี้จะได้ยินแล้วแต่เพราะเครื่องแปลงสัญญาณที่เด่นชัด ทำให้มีบางคนยังปฏิบัติกับเธออย่างเกรงใจ ความกลัวนี้เธอเก็บไว้ลึกแล้วใช้รอยยิ้มเข้าหาคนอื่น 

11. งานอดิเรก

 - ออกไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะใกล้บ้าน พลางจินตนาการไปเรื่อย

 - วันอาทิตย์บ่าย ๆ จะเข้าร่วมวงสนทนากับกลุ่มคนที่บกพร่องทางการได้ยินเหมือนกัน ซึ่งมักมารวมตัวกันที่ร้านกาแฟใกล้สวนสาธารณะทุกอาทิตย์

 - วาดรูป โดยเฉพาะรูปวิวทิวทัศน์

 - เล่นกีฬาต่าง ๆ โดยเฉพาะตีแบดมินตัน ที่มักตีกับพี่ชาย

 12. สายการเรียน

วิทย์-คณิต 

เลือกสายนี้เพราะถึงจะไม่ถนัดวิทยาศาสตร์มากมาย แต่อ้ายยังไม่อยากเรียนรู้ภาษาที่สามเพิ่มเติม เพราะแค่ตอนนี้แม้แต่ภาษาไทยก็ยังต้องเรียนรู้และฝึกฝนอีกมาก

13. วิชาที่ชอบ

ประวัติศาสตร์ - เพราะรู้สึกเหมือนได้อ่านนิทาน แค่ตัวละครเยอะและยุ่งวุ่นวายกว่า ถ้าได้รู้เรื่องราวเป็นภาพแล้วจะยิ่งชอบมาก การอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ อ้ายจึงใช้วิธีค่อย ๆ วาดภาพตามหนังสือ อาจจะอ่านช้าแต่ทำให้เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน

คณิตศาสตร์ - คล่องมาแต่เด็กแล้ว ชอบคำนวณแต่ไม่ชอบทฤษฎี

ไม่ชอบ

วิทยาศาสตร์ - ศัพท์เฉพาะทางเยอะมาก ทำให้อ่านช้าและสับสน

ภาษาอังกฤษ - เป็นภาษาที่เรียนทีหลัง รู้สึกเข้าใจยากและสื่อสารไม่ได้

14. วิชาที่ถนัด 

คณิตศาสตร์ - พ่อเคยสอนคำนวณให้แต่เล็ก ถนัดหมดยกเว้นทฤษฎี

พลศึกษา - เพราะเล่นกีฬาบ่อยเลยคล่องตัว

ไม่ถนัด

ภาษาไทยและอังกฤษ - เพราะมีหลักไวยากรณ์และคำไม่เข้าใจมากมาย

เคมี - ศัพท์เฉพาะทางเยอะมากทำให้เรียนรู้ได้ลำบาก (ฟิสิกส์ถึงจะมีศัพท์เฉพาะทางเยอะเหมือนกัน แต่อ้ายจะเน้นใช้ภาพในการค่อย ๆ คำนวณเป็นหลักเลยพอไปได้ ส่วนชีวะนั้นใช้วิธีการจำด้วยภาพ คือวาดรูปออกมาแล้วเขียนศัพท์เฉพาะทางไว้ แล้วจดจำเป็นภาพ ส่วนเคมีมักจำด้วยภาพยาก การคำนวณก็จะมีโจทย์ซับซ้อนกว่าปกติ)

15. คะแนนวิชาต่างๆในตอน ม.3

คณิตศาสตร์ 4

ภาษาไทย 2

ภาษาอังกฤษ 1

วิทยาศาสตร์

- ฟิสิกส์ 2.5 (ได้เพราะคำนวณ)

- เคมี 1.5

- ชีววิทยา 2

สังคมศึกษา 3

สุขศึกษาและพลศึกษา 4

การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3

ศิลปะ 3.5

ดนตรี 2.5 (ในการสอบภาคทฤษฎีจะทำได้ไม่มาก เพราะไม่เข้าใจหลักของเสียง ส่วนใหญ่จะได้คะแนนถ้าออกมาคล้ายประวัติศาสตร์ ส่วนปฏิบัติถ้าเป็นเครื่องดนตรีจะใช้วิธีจำลำดับการเล่นแต่ไม่ได้ยิน ส่วนรำหรือเต้นจะดูคนอื่นเอา แต่จับจังหวะไม่ได้)

16. ความสามารถพิเศษในการเรียน

 - การวาดรูป อ้ายชอบวาดรูประบายสีอยู่บ่อย ๆ ตั้งแต่เด็ก ฝีมือพัฒนาเรื่อย ๆ จนโตขึ้น

 - เล่นกีฬาได้หลายชนิด ถนัดกีฬาที่เล่นคนเดียวมากกว่าทีม ชอบเล่นแบดมินตันมากที่สุด แต่ปัจจุบันงดเล่นกีฬาที่ดูรุนแรงหรือมีความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บ เช่น ขี่จักรยาน ฟุตบอล วอลเลย์บอล

- ว่ายน้ำได้ โดยใส่เครื่องแปลงสัญญาณในหูฟังซิปล็อค แล้วให้แม็กเน็ต(ส่วนกลม ๆ)อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามปกติ

(ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=9zEyAbLi33U )

- สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ เป็นภาพได้ดี

17.ลักษณะคนที่จะเป็นเพื่อนได้

- คนที่คุยด้วยแล้วรู้สึกสบายใจ

- คนที่ปฏิบัติกับเธอเหมือนเพื่อนทั่วไป

18. ลักษณะคนที่ไม่ถูกชะตา

- คนที่กีดกันเธอไม่ให้เข้ากลุ่ม : อ้ายจะน้อยใจ และกลัวๆที่จะเข้าหาคนนั้นอีก

- คนที่หน้าไหว้หลังหลอก : ถ้ารู้ว่าคนนั้นไม่ได้จริงใจและหลอกเธออยู่ อ้ายจะน้อยใจและจะเสียใจมากถ้ารู้จักกันนาน แล้วจะพยายามไม่เข้าหาอีก

- คนที่หัวเราะเยาะการกระทำและความคิดของเธอ : ถ้าโดนหัวเราะเยาะใส่ในเชิงดูถูก จะทั้งโกรธและเสียใจ อ้ายจะร้องไห้ และหลีกเลี่ยงการพบเจอกับคน ๆ นั้น

- คนที่ทำร้ายผู้อื่น : จะเข้าไปห้ามทันที และหากเจอคนนั้นอีกในยามปกติก็จะคอยสังเกตการณ์เป็นพิเศษ

19. เสป็กในดวงใจ

 คนที่อยู่ด้วยกันอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่ใจดีแค่เพราะสงสาร อ่อนโยน ใจดี อยู่ด้วยแล้วรู้สึกผ่อนคลาย

20. สัญชาติ - ไทย

เชื้อชาติ - ไทย

ภาษาที่พูดได้

การสื่อสาร(ไทย)

เขียน :

- สามารถเขียนได้ใกล้เคียงคนทั่วไป โดยอาศัยการจำแต่ละคำเป็นรูปสัญลักษณ์ แต่จะสะกดคำยาก ๆ ยาว ๆ ผิดบ่อย

- เขียนจากสิ่งที่เห็นได้ถูกต้องมากกว่าสิ่งที่ได้รับฟัง เพราะเธอยังสับสนการจับเสียงกับคำให้ตรงกันอยู่บ้าง

- เวลาจดบันทึกส่วนตัวจะใช้วิธีวาดภาพมากกว่าเขียนเพราะง่ายกว่า 

- มีสับสนกับไวยากรณ์ภาษามือบ้างบางครั้ง (ภาษามือจะเรียงด้วย ประธาน-กรรม-กริยา) แต่ถ้ารู้ตัวจะแก้ไขให้ถูกทันที (ประธาน-กริยา-กรรม)

(ที่มา : http://hunuak.blogspot.com/2009/10/blog-post_2342.html )

อ่าน : อ่านได้แต่จะช้ากว่าคนปกติ 

พูด :

- พูดได้น้อย อย่ามากก็เป็นคำง่ายๆ ออกเสียงได้ไม่ครบ ปัจจุบันฝึกพูดอยู่

- เวลาสื่อสารกับผู้อื่นจึงไม่เน้นพูดแต่ใช้ท่าทางแทน หรือใช้วิธีเขียนเมื่อสื่อสารด้วยท่าทางยาก

ฟัง :

- ฟังเสียงพูดของคนอื่นเข้าใจ แต่คนพูดต้องพูดช้าๆชัดเจน

- หากพูดเร็วๆเธอจะประมวลผลกับความจำเดิมของเธอไม่ทัน เลยใช้วิธีอ่านริมฝีปากจะง่ายกว่า

อ้ายไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ การอ่านสามารถอ่านศัพท์และประโยคง่ายๆได้บ้าง เช่น This is a cat. การเขียนใช้วิธีจำเป็นภาพเช่นเดียวกับภาษาไทย ส่วนไวยากรณ์ไม่สามารถเจาะลึกได้ การอ่านภาษาอังกฤษจึงใช้วิธีพยายามจับใจความจากศัพท์ที่พอรู้ 

ศาสนา - พุทธ 

21.ครอบครัว 

- พ่อ ทำงานเป็นพนักงานบริษัทแผนกบัญชี ได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าเมื่อสี่ปีก่อนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นบ้าง 

- แม่ เคยเป็นอาจารย์ภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมมาก่อน แต่ลาออกมาเพื่อดูแลลูก เป็นผู้เลี้ยงดูอ้ายซึ่งไม่ได้ยินเสียงอย่างอดทนและอ่อนโยน ทำให้อ้ายโตมาด้วยจิตใจที่ดี 

- พี่ชายชื่อ เอก คอยดูแลอ้ายตั้งแต่เล็ก ๆ อย่างปกป้อง ปัจจุบันก็ยังห่วงและหวงน้องเหมือนเดิม เพิ่งขึ้นปีหนึ่งคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง

- แต่เดิมครอบครัวของอ้ายฐานะทางการเงินไม่ดีนัก กระนั้นเพราะไม่อยากให้ลูกขาดความรัก คนเป็นแม่จึงลาออกมาเลี้ยงดูลูกพลางรับงานเย็บปักถักร้อยทำอยู่บ้าน

22. อื่นๆ

- อ้ายหูหนวก คือ การได้ยินอยู่ในระดับที่ 6 ทั้งสองข้าง สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ 91 เดซิเบลขึ้นไป ไม่ได้ยินเสียงใดๆแม้จะใช้เครื่องขยายเสียง

(ที่มา : http://www.studentkm.net/blog_view.php?b_id=310 ขอบคุณผปค.ปราชญ์ด้วยค่ะ)

- สาเหตุของหูหนวกมาจากกรรมพันธุ์ยีนด้อย (Autosomal recessive hearing loss) คือพ่อแม่หูไม่หนวกแต่มียีนด้อยทั้งคู่ ทำให้ลูกมีโอกาสหนึ่งในสี่ที่จะหูหนวก กว่าพ่อแม่จะรู้ว่าอ้ายหูหนวกก็เมื่อพาอ้ายเข้าโรงเรียนตอนราว ๆ สองขวบแล้วครูแนะนำให้ไปพบแพทย์

- เพราะปัญหาทางการเงินของครอบครัว ทำให้เพิ่งได้ผ่าตัดประสาทหูเทียมเมื่อปีก่อน หลังจากนั้นก็ได้รับการเรียนรู้การแปลเสียงที่ได้ยิน ได้รับการปรับระดับเสียงจนเหมาะสม และสามารชินกับเสียงได้อย่างปกติ เข้ารับการฝึกพูดพื้นฐานแต่ยังไม่คล่อง ปัจจุบันก็ยังเข้ารับการบำบัดการพูดจากโรงพยาบาลที่ไปผ่าตัดเป็นครั้งคราว

- ถึงรายได้ของพ่อจะเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่พอจะผ่าตัด แต่เมื่อสองปีก่อนพ่อของอ้ายได้ช่วยเหลือเศรษฐีคนหนึ่งที่จมน้ำเข้า ทั้งคู่เลยรู้จักกัน เศรษฐีต้องการตอบแทนพ่อด้วยการช่วยอ้าย ตอนแรกพ่อไม่กล้ารับแต่เศรษฐียืนกราน หลังจากผ่านการปรึกษากันพ่อแม่ลูก สุดท้ายก็เลยได้ผ่าตัด แต่ค่าบำรุงรักษาและอื่น ๆ พ่ออ้ายเอาเงินจ่ายเอง 

(ที่มา:

http://en.wikipedia.org/wiki/Congenital_hearing_loss

http://www.raisingdeafkids.org/hearingloss/genetics/inheritance/recessive.php )

- อ้ายไม่ได้มองว่าการหูหนวกเป็นปมด้อย เธอยอมรับมันเป็นส่วนหนึ่งของตัวเองและปรับตัวใช้ชีวิตกับมัน แต่ก็รู้สึกเสียใจที่ตัวตนส่วนนี้ของเธอทำให้ผู้อื่นมองว่าตัวเองแตกต่าง แต่ที่เธอเข้ารับการผ่าตัดเพราะเธอเองก็อยากรู้ว่า "เสียงแบบที่คนทั่วไปได้ยิน" เป็นยังไง (บางครั้งได้ยินเสียงที่มากกว่า 90 dB บ้าง แต่โลกของเธอก็ยังเงียบอยู่ดี)

- การหูหนวกทำให้อ้ายสื่อสารกับผู้อื่นได้ไม่เต็มที่ การอ่านเขียนก็ลำบากเพราะไม่สามารถใช้เสียงช่วยจดจำได้ แต่เพราะสภาพแวดล้อมดี และมีครอบครัวกับเพื่อน ๆ คอยอยู่เคียงข้าง ทำให้อ้ายปรับตัวกับชีวิตของเธอได้ดี

- แม้ตอนนี้จะได้รับการผ่าตัดมาแล้ว แต่เพราะยังไม่สามารถพูดได้คล่อง การอ่านเขียนเรียนรู้ดีขึ้นแต่ยังสับสนเสียงกับการจำเดิมของเธอ ด้านการสื่อสารและอ่านเขียนจึงยังส่งผลกระทบต่อชีวิตในโรงเรียนลูกบาศก์หลังจากนี้ คือ สื่อสารกับผู้อื่นได้ไม่เต็มที่ และเรียนรู้ผ่านตัวอักษรช้ากว่าคนอื่น

- Worst case ของอ้ายคือ การที่เครื่องแปลงสัญญาณได้รับความเสียหายอย่างมากจากการกระแทกอย่างรุนแรง ซึ่งอาจกระทบกับอวัยวะภายในที่ผ่านการผ่าตัดมาแล้วด้วย

- อ้ายได้ทำบัตรทองสำหรับคนพิการด้วยค่ะ จึงไม่มีปัญหาทางการเงินในเรื่องเจ็บป่วยมาก และใช้สิทธิในการรับเข้าบำบัดการพูด แต่สิทธินี้ไม่สามารถใช้ออกค่าผ่าตัดประสาทหูเทียมได้ เนื่องจากบัตรถือว่าประสาทหูเทียมเป็นอวัยวะเทียม 

(ที่มา 

http://topicstock.pantip.com/family/topicstock/2011/02/N10208769/N10208769.html 

http://www.khuring.com/images/column_1269856531/lawpigan.pdf

http://www.rongkat.com/private_folder/nhso.pdf ขอบคุณผปค.เฟิร์นด้วยค่ะ)

การเรียนรู้ภาษา

- ในช่วงสองขวบแรกอ้ายเรียนรู้ภาษาไม่มาก (กรณีคล้ายน้อง http://www.miracleofsound.com/known_noei.html ) 

- หลังเข้าโรงเรียนแล้วพบว่าอ้ายหูหนวก ในระยะแรกแม่อ้ายใช้ภาษามืออย่างง่ายมาสอนศัพท์อ้ายเป็นคำ ๆ  (http://www.youtube.com/watch?v=yRzM7tO8rVk) ส่วนที่โรงเรียนครูจะคอยให้จากปากช้า ๆ บนกระดานดำ พร้อมรูปภาพประกอบและภาษามือบ้าง 

(ที่มา : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:mMPws92y2dIJ:bepoong.multiply.com/journal/item/95/95+&cd=14&hl=th&ct=clnk&gl=th )

- ประมาณหกขวบอ้ายได้ฝึกการอ่านริมฝีปากและฝึกพูด อ้ายพออ่านริมฝีปากได้แต่การพูดนั้นยากไปสำหรับเธอ (ประมาณนางแบบเบรนด้า คอสต้า แต่ไม่คล่องเท่า http://nadt.thport.com/deafstudy.BrendaCosta.html )

- หลังผ่าตัดแล้วก็ได้รับการขัดเกลาทางภาษามากขึ้นจากนักบำบัดการพูด (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94)

การได้ยินเสียง

- เมื่อสวมเครื่องแปลงสัญญาณ : อ้ายสามารถได้ยินเสียงใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไปเมื่อเสียงนั้นมีระดับเสียงต่ำกว่า 80 dB แต่ถ้าสูงกว่านั้น การได้ยินจะเหมือนกับตอนไม่ใส่เครื่องแปลงสัญญาณ คือ ได้ยินเสียงเพียงแผ่ว ๆ เท่านั้น เช่น เสียงพูดคุย ตะโกน หรือเสียงดนตรีอะคูสติก การได้ยินเสียงจะใกล้เคียงกับคนทั่วไป แต่ถ้าเสียงที่ดังกว่า 90 dB เช่น เสียงจากลำโพงในงานคอนเสิร์ตวงร็อคหรือเสียงประทัด เครื่องแปลงสัญญาณมีช่วงรับความดังไม่ถึง จึงได้ยินเพียงแผ่ว ๆ เท่านั้น

- เมื่อไม่สวมเครื่องแปลงสัญญาณ : ไม่สามารถได้ยินเสียงที่มีระดับต่ำกว่า 90 dB ได้ จึงไม่ได้ยินเสียงตะโกนใด ๆ ทั้งสิ้น เสียงที่พอได้ยินแผ่ว ๆ จะเป็นเสียงที่ดังกว่านั้น เช่น เสียงประทัด ดอกไม้ไฟ ระเบิด เจาะถนน คอนเสิร์ตวงร็อค เป็นต้น

(ที่มา : http://www.safetybasic.com/index.php/content/24--osha )

==

เนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

สอบสัมภาษณ์

Advertisement